บริการรับจัดอบรม

IndyThaiTester เป็นศูนย์บริการรับจัดฝึกอบรมหรือให้คำปรึกษาในด้านการทดสอบซอฟต์แวร์อัตโนมัติ

Automated Software Testing Training Center

โครงการ IndyThaiTester ได้เปิดให้บริการรับฝึกอบรมทั้งภายในและภายนอกสถานที่ในระดับกลุ่มหน่วยงานหรือองค์กร
รวมถึงยินดีให้คำปรึกษาแก่บุคคลภายนอก หน่วยงาน องค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชนที่สนใจ ในหลักสูตรด้านการทดสอบซอฟต์แวร์อัตโนมัติ ดังนี้


# Subject Description
1 Introduction to Computer Programming

หลักการโปรแกรมเบื้องต้นตามรูปแบบไวยากรณ์ของภาษาที่กำหนด ลำดับการทำงาน กระบวนการแก้ปัญหาผ่านผังงาน หลักการโปรแกรมแบบโครงสร้างคำสั่งในการประมวลผลคำสั่งในการคำนวณ ตัวแปร ชนิดของตัวแปร ข้อมูลแบบต่างๆ โครงสร้างควบคุม คำสั่งรับข้อมูล และแสดงผล ปฏิบัติการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักการโปรแกรมเบื้องต้น และสามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหา ออกแบบโปรแกรมและเขียนโปรแกรมในระดับพื้นฐานได้

2 Introduction to Software Testing

ศึกษาทฤษฎีการทดสอบซอฟต์แวร์ที่ประกอบไปด้วยเทคนิคและกลยุทธในการทดสอบ การทวนสอบ (Verification) และยืนยันผล(Validation) ระดับของการทดสอบ กระบวนการทดสอบ ชนิดของการทดสอบ รวมไปถึงเทคนิคการทดสอบแบบต่าง ๆ อาทิ White Box, Black Box และ Grey Box การทดสอบด้วยมือและการทดสอบแบบอัตโนมัติ การออกแบบกรณีทดสอบ การทำเอกสารแผนการทดสอบ ตลอดจนความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกันคุณภาพของซอฟต์แวร์

3 QuickTest Professional for Beginner

ปฏิบัติการทดสอบฟังก์ชันการทำงานอัตโนมัติของซอฟต์แวร์ด้วย HP QuickTest Professional (QTP) โดยเน้นไปที่เทคนิคต่าง ๆ ที่ในการทดสอบ ได้แก่ เทคนิคการ Record/Play back ในการทดสอบ แนวคิดและการใช้งานที่เกี่ยวกับ object repository, actions, checkpoints, debugging, test results และอื่น ๆ นอกจากนั้นยังครอบคลุมไปถึงการสร้างอ็อบเจกต์ผ่าน Descriptive Programming และ framework ของการทดสอบอัตโนมัติแบบอื่น ๆ ได้แก่ Data, Keyword และ Hybrid Driven framework

4 Automated Testing with Selenium

ปฏิบัติการทดสอบฟังก์ชันการทำงานอัตโนมัติโดยใช้ซอฟต์แวร์แบบรหัสเปิด Selenium โดยครอบคลุมเนื้อหาที่ประกอบไปด้วยการใช้เครื่องมือทดสอบชนิดต่าง ๆ เช่น Selenium IDE, Selenium RC, WebDriver และ Selenium Gird เพื่อใช้ร่วมกับ Framework ที่ใช้ในการทดสอบต่าง ๆ อาทิ Record/Playback, Data, Keyword และ Hybrid Driven framework เป็นต้น ปฏิบัติการเขียนสคริปต์สำหรับการทดสอบโดยใช้ภาษาโปรแกรมที่ Selenium สนับสนุน เช่น จาวา โดยเน้นไปที่การแก้ไขปัญหาในการทดสอบเว็บแอพพลิเคชั่นร่วมกับเว็บบราวเซอร์ชนิดต่าง ๆ เป็นหลัก

5 Performance Testing with JMeter

ศึกษาเกี่ยวกับนิยามต่าง ๆ เช่น Response Time และ Throughput ที่ใช้ในการวัดสมรรถนะการทดสอบซอฟต์แวร์ ชนิดของการทดสอบสมรรถนะต่าง ๆ ปฏิบัติการใช้งาน โดยใช้และตั้งค่าส่วนประกอบหลัก ๆ ของ JMeter ได้แก่ Test Plan, Thread Group, Controllers, Listeners, Timers, Config Elements, Pre-Post Processor และอื่น ๆ เพื่อให้สามารถวัดค่าสมรรถนะต่าง ๆ ของซอฟต์แวร์ได้ นอกจากนั้นยังครอบคลุมไปถึงการสร้างแผนการทดสอบสมรรถนะ การประมวลผลสคริปต์สำหรับการทดสอบ และการวิเคราะห์ผลลัพธ์ของการทดสอบด้วย JMeter

6 Defect Tracking Tool with Bugzilla

ศึกษาการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบและติดตามข้อบกพร่องต่าง ๆ เพื่อช่วยในการเพิ่มความเร็วในการพัฒนาระบบ อาทิ วงจรชีวิตของข้อบกพร่อง ลำดับความสำคัญของข้อบกพร่อง ระดับความรุนแรงของข้อบกพร่อง รายละเอียดในการนำเสนอข้อบกพร่อง และรายงานข้อบกพร่อง ปฏิบัติการติดตั้งและใช้งานเครื่องมือตรวจสอบและติดตามข้อบกพร่อง ได้แก่ Bugzilla รวมไปถึงการใช้คุณสมบัติสำคัญต่าง ๆ ของเครื่องมือที่กำหนดเพื่อประกอบในการทดสอบซอฟต์แวร์

7 Mobile Testing with Appium

ศึกษาหลักการและเครื่องมือที่จำเป็นในการทดสอบด้วยมือและทดสอบอัตโนมัติกับโมบายแอพพลิเคชั่น สำรวจสถานะของเทคโนโลยีของอุปกรณ์เคลื่อนที่ปัจจุบันโดยเน้นไปที่คุณภาพของซอฟต์แวร์และวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการทดสอบ มุ่งเน้นให้สามารถปฏิบัติการทดสอบได้จริง โดยผ่านระบบ Android และ IOS เข้าใจหลักการทดสอบและสรุปผลรายงานข้อผิดพลาด


หมายเหตุ

หน่วยงานหรือองค์กรใดที่สนใจ สามารถติดต่อเพื่อขอรับรายละเอียดได้ที่สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทางหมายเลขโทรศัพท์ 053 - 873559 หรือผู้ประสานงานโครงการทางหมายเลขโทรศัพท์ 085 - 0101507