รายละเอียดโครงการอบรมเพื่อสร้างนักพัฒนาซอฟต์แวร์ หลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาซอฟต์แวร์
(Up-Skill & Re-Skill in Software Development)รายละเอียดโครงการ
ข้อมูลจากจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ระบุว่า ประเทศไทยมีนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในสาขาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จำนวน 5.7 แสนคนต่อปี แต่ทำงานตรงสายงานแค่เพียง 15% เท่านั้น และในแต่ละปีประเทศไทยสามารถผลิตบัณทิตด้านไอทีที่มีคุณสมบัติเพียงพอกับความต้องการของภาคธุรกิจได้ไม่เกิน 5,000 คน ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ส่วนหนึ่งของปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากเนื้อหาหลักสูตรขาดความทันสมัย เน้นทฤษฎีเป็นหลักส่งผลให้ขาดทักษะที่ผู้ประกอบการต้องการ การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพื่อให้ทันต่อเทคโนโลยีมีกระบวนการซับซ้อนและใช้เวลามากเกินไป
เพื่อตอบสนองความต้องการดังที่ได้กล่าวมาแล้วสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้จัดทำ หลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ดำเนินการสอนโดยคณาจารย์มืออาชีพ การันตีด้วยประสบการณ์การสอนด้านไอทีมากว่าสิบปี ตั้งแต่วันที่ 9 พ.ค. – 24 มิ.ย. 2566 เพื่อสร้างทักษะใหม่ (Re-Skill) ให้กับผู้ที่ไม่ได้จบทางด้านไอทีมาก่อนสามารถเตรียมความพร้อมเพื่อเปลี่ยนสายงานเข้าสู่ตลาดแรงงานด้านไอทีได้ ในขณะเดียวกันยังเป็นการเพิ่มทักษะ (Up-Skill) ด้านเทคโนโลยีสำหรับบุคลากรด้านไอทีเดิมที่มีความต้องการในการพัฒนาตนเองเพื่อให้มีความรู้เท่าทันเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
วัตถุประสงค์ของโครงการ
พัฒนาทักษะการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์
เพื่อเสริมสร้างทักษะใหม่ด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่จำเป็นสำหรับการทำงานให้กับบัณฑิตที่จบสาขาอื่น
เพื่อยกระดับทักษะที่มีอยู่เดิมให้ดีกว่าเดิมให้กับบุคลากรทางด้านไอทีที่ต้องการพัฒนาตนเองให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในปัจจุบัน
ยกระดับขีดความสามารถ
เพื่อสร้างบุคลากรทางด้านไอทีที่มีคุณภาพ และตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน
เพื่อสร้างทางเลือกในการเปลี่ยนสายงานเข้าสู่ตลาดแรงงานไอทีสำหรับบัณฑิตที่จบสาขาอื่น
อาชีพเป้าหมาย
บุคลากรไอทีที่มีความรู้ด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์
นักพัฒนาโปรแกรมฝั่งไคลเอนต์ (Front End Developer)
นักทดสอบซอฟต์แวร์อัตโนมัติ (Automation Software Tester)
นักพัฒนาโปรแกรมฝั่งเซิร์ฟเวอร์ (Back End Developer)
นักพัฒนาโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Developer)
คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้เข้าร่วมอบรม
ระดับคุณวุฒิ
เป็นผู้ จบปริญญาตรีทุกสาขา หรือ กำลังว่างงาน หรือ มีความสนใจที่จะเปลี่ยนสายอาชีพมาเป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้รวมถึงทักษะในการเขียนโปรแกรมมาก่อน ทั้งนี้ผู้เข้าอบรมต้องมีคอมพิวเตอร์ส่วนตัวเพื่อใช้ปฏิบัติการระหว่างอบรมด้วย
เวลาเรียน
ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลารับการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาอบรมทั้งหมด จึงจะได้รับใบวุฒิบัตรรับรองจากโครงการ
จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
จำนวน 40 ท่าน
สถานที่อบรม
ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีสารสนเทศ 2 (ห้อง 1104)
อาคารเสาวรัจ นิตยวรรธนะ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ภาคปฏิบัติ
ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีสารสนเทศ 2 (ห้อง 1104)
อาคารเสาวรัจ นิตยวรรธนะ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ระยะเวลาในการอบรม 204 ชั่วโมง
โครงการอบรมเพื่อสร้างนักพัฒนาซอฟต์แวร์ มีระยะเวลาดำเนินการรวมทั้งสิ้น 204 ชั่วโมง
ปรับพื้นฐาน และฝึกอบรม ระหว่างวันที่ 9 พ.ค. – 24 มิ.ย. 2566
โดยอบรม จันทร์ อังคาร พุธ ศุกร์ เสาร์
ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น.
- ปรับพื้นฐาน โปรแกรมภาษาซี ระยะเวลา 4 วัน (24 ชม.)
- Front End Development with React ระยะเวลา 8 วัน (48 ชม.)
- Automated Testing with Playwright ระยะเวลา 4 วัน (24 ชม.)
- Test Theory ระยะเวลา 3 วัน (18 ชม.)
- Introduction to Database System ระยะเวลา 3 วัน (18 ชม.)
- Introduction to Object Oriented Concept ระยะเวลา 3 วัน (18 ชม.)
- Introduction to Backend Development with Go-lang ระยะเวลา 5 วัน (30 ชม.)
- Mobile Development with Flutter ระยะเวลา 4 วัน (24 ชม.)
ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมอบรม
- ค่าลงทะเบียนเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาซอฟต์แวร์ จำนวน 19,000 บาท ต่อท่าน
สิ่งที่ผู้เข้าอบรมจะได้รับ
- ไฟล์เอกสารประกอบการสอนและไฟล์งานภาคปฏิบัติ
- เครื่องดื่ม น้ำชา กาแฟ โอวัลติน มีบริการตลอดทั้งวัน
- วุฒิบัตรรับรองการผ่านหลักสูตรอบรมที่ออกโดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้
กำหนดการรับสมัคร
- รับสมัครผ่านเว็บ ตั้งแต่บัดนี้จนถึง 28 เม.ย. 2566
- ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก 1 พ.ค. 2566
- ชำระเงินค่าลงทะเบียนเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาซอฟต์แวร์ 19,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 - 5 พ.ค. 2566
หลักฐานประกอบการสมัคร
- กรอกข้อมูลการสมัครผ่านทางระบบ Online ภายในวันที่ 28 เม.ย. 2566